การใช้แมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ประเภทวัสดุอาหาร กากเต้าหู้ เปลือกสับปะรด กากมันสำปะหลัง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย อาหารสำหรับเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย อาหารไก่จากหนอนแมลงวันลาย ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษเหลือทิ้งหลังการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย


หนอนแมลงวันลายมีความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือทางการเกษตรและของเสียไปเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เศษเหลือจากการเลี้ยงหนอนแมลงวันสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช งานวิจัยนี้จึงนำกากเต้าหู้ เปลือกสับปะรด กากมันสำปะหลัง มูลไก่ มาเป็นอาหารผสมรวมกับอาหารไก่ให้แก่หนอนแมลงวันลายเพื่อศึกษาคุณลักษณะของแมลงวันลายจากแต่ละแหล่งอาหาร จากนั้นนำหนอนแมลงวันลายที่ได้ไปเลี้ยงไก่ร่วมกับอาหารไก่ ส่วนเศษที่เหลือจากการเลี้ยงหนอนแมลงวัน(อาหารและมูล)นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์สำหรับข้าวโพดหวาน

ผลการวิจัยพบว่าหนอนที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่ผสมกากเต้าหู้และมีค่าโปรตีนและไขมันสูงกว่าผสมกากมันสำปะหลัง เปลือกสับปะรดและมูลไก่ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หนอนแห้งมีความปลอดภัยทางชีวภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในอาหารสัตว์ (น้อยกว่า 8×106 CFU/g) และเมื่อนำไปทดสอบในไก่ไข่พบว่าค่าการย่อยได้ของกรดอะมิโนในหนอนที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่ผสมกากเต้าหู้สูงกว่าผสมกากมันสำปะหลังและเปลือกสับปะรด นอกจากนี้การเสริมหนอนแมลงวันลายในอาหารไก่ไข่ได้ในระดับร้อยละ 4, 8 และ 12 ทำให้สีไข่แดงเพิ่มขึ้นโดยไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิต

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้ง(อาหารและมูล)จากการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ได้มีการศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรียในเศษเหลือทิ้ง พบว่ามีกลุ่มที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งสามารถสร้างเอนไซม์ได้หลายชนิด ผลิตกรดอินทรีย์ ตรึงไนโตรเจน ละลายฟอสเฟต ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย องค์ประกอบทางเคมีในเศษเหลือจากการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายด้วยอาหารไก่ทำให้มี N P และ K สูง กากเต้าหู้ทำให้มีปริมาณ N สูง และเปลือกสับปะรดทำให้ปริมาณ K สูง ทุกการทดลองให้ผลมีอินทรีย์วัตถุและคาร์บอนอินทรีย์สูงมาก ยกเว้นเศษเหลือทิ้งของการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายด้วยมูลไก่ อย่างไรก็ตามพบว่าในเศษเหลือแบบสดและแห้งมีค่าพีเอช อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนและความชื้นไม่ผ่านเกณฑ์ รวมไปถึงมีอัตราการย่อยสลายไม่สมบูรณ์ ยกเว้นเศษเหลือทิ้งของการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายด้วยกากมันสำปะหลังพบว่ามีการย่อยสลายสมบูรณ์ ดังนั้นการใช้เศษเหลือทิ้งจากการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายด้วยกากมันสำปะหลังทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี และมีผลผลิตสูงสุด


โครงการ การใช้แมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
The use of black soldier fly as the protein source with the production of organic fertilizer


สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563


วิจัยโดย
ผศ.ดร.ชาญวิทย์ แก้วตาปี และคณะ
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-5791120 โทรสาร 02-5791120 E-mail: agrcwk@ku.ac.th

โครงการที่เกี่ยวข้อง

Woman's,Hand,Crumbles,Coffee,Grounds,Into,Wooden,Bowl
พรีไบโอติกจากกากกาแฟ
กากกาแฟเพื่อผลิตสารพรีไบโอติก ประเภทวัสดุอาหาร กากกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย สารพรีไบโอติกเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเพื่อสุขภาพ กากกาแฟ...
ดูรายละเอียด...
ground coffee poured into the holder on which the grains of roas
การผลิตแป้งกาแฟจากเศษเหลือผลกาแฟเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสุขภาพ
เปลือกและผลเชอรี่กาแฟเพื่อผลิตแป้งกาแฟ ประเภทวัสดุอาหาร ผลและเปลือกเชอรี่กาแฟที่ได้จากการผลิตเมล็ดกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย...
ดูรายละเอียด...
13717450_1044937078877218_9044340172614496344_o
การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียน
เปลือกทุเรียนเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแพะ ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกทุเรียน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย อาหารเลี้ยงแพะ...
ดูรายละเอียด...