เกี่ยวกับเรา

ABOUT US

Food Waste Hub เป็นความร่วมมือของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่เห็นความสำคัญของการจัดการขยะของประเทศด้วยนวัตกรรมฝีมือคนไทย โดยขยะอาหารเป็นปัญหาขั้นต้นที่ทำให้อัตราการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะปนเปื้อนจากเศษอาหารทำให้ยากแก่การนำไปใช้ประโยชน์ ในขณะที่ขยะอาหารยังมีมูลค่าในตนเองที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และการลงทุนเชิงพาณิชย์
 
วช. และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จึงได้พัฒนาแนวคิดการจัดการขยะอาหารอย่างมีส่วนร่วม เข้าถึงได้ทุกภาคส่วน เน้นการนำไปปฏิบัติได้ทั้งเชิงการดำเนินการได้จริงและเชิงพาณิชย์ ผ่านการสร้างแพลตฟอร์ม Platform : Food Waste Hub by NRCT & DOW Dow เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณชน จากองค์ความรู้งานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้วและได้รับทุนจากสนับสนุนของ วช. และ/หรือต้นแบบที่นำงานวิจัยของ วช. ไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังเปิดรับประเด็นคำถาม ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าชมหรือผู้ติดตาม โดยมีศูนย์ประสานเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยและนวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ วช. เป็นฝ่ายเลขานุการ
 

วัตถุประสงค์

0
Success Case
0
Ready-to-use Case

Meaning of Food Waste

ความหมายของขยะอาหาร

ขยะอาหาร (Food waste) หมายรวมถึง

เศษเหลือจากวัตถุดิบในการเตรียมอาหาร
จากเศษอาหาร หรืออาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค
วัสดุหรือเศษวัสดุที่เหลือจากการบริโภค เช่น เปลือกผลไม้ เมล็ด
อาหารที่หมดอายุหรือไม่ได้มาตรฐาน

ความสำคัญของขยะอาหาร

ปัญหาขยะอาหารกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ทุกประเทศกำลังร่วมมือกันในการลดการสร้างขยะจากอาหาร ขยะอาหารที่ถูกทิ้งเกิดการเน่าเสีย สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ภาวะโลกร้อน มีการประมาณการณ์ว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีขยะอาหารมากกว่า 1,300 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 8%

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64 % ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี มีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากไม่มีการแยกขยะที่ถูกต้อง และในส่วนของ กทม. สามารถรีไซเคิลขยะอาหารได้เพียง 2% เท่านั้น นอกจากนี้การไม่แยกขยะก่อนทิ้งที่เหมาะสมทำให้ขยะอาหารปนเปื้อนขยะประเภทอื่น ส่งผลให้ขยะประเภทอื่นไม่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ตามไปด้วย เช่น ขยะพลาสติก ขยะบรรจุภัณฑ์ ทำให้อัตราการรีไซเคิลของประเทศน้อยหรือต่ำ

ดังนั้นการจัดการกับขยะอาหารที่เหมาะสมจะมีผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการจัดการขยะหรือมูลฝอยของประเทศแบบก้าวกระโดด ส่งผลดีต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระดับฐานรากและเชิงธุรกิจ ส่งผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ต่อระบบนิเวศและระบบสุขภาพ