.
Ugly Veggies ผักไม่สวย
โมเดลทางธุรกิจเพื่อจำหน่าย Ugly Veggies ผักรูปลักษณ์ไม่สวย
ประเภทวัสดุอาหาร ผักตกเกรด ผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานและมีรูปลักษณ์ไม่สวย
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ผักที่ได้รับการตัดแต่งและจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสม
ผู้วิจัย ผศ.ดร. ชวิศ เกตุแก้ว และคณะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ใช้ประโยชน์ เกษตรกรเครือข่ายจำนวนเป็น 21 ราย
ผักตกเกรด ผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานและมีรูปลักษณ์ไม่สวย (Ugly Vegetables) และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตผักสด มักจะถูกคัดออกและทิ้งลงถังขยะ งานวิจัยได้เสนอแนวคิดในการเปลี่ยนมุมมองต่อผักตกเกรดหรือรูปลักษณ์ไม่สวย โดยได้พัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบ E-commerce ภายใต้ชื่อแพลตฟอร์ม Ugly Veggies ที่ช่วยให้เกษตรกรที่มีผักไม่สวย และลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าเหล่านั้นมาพบกันใน Line Web-app ทำให้เกษตรกรสามารถโพสต์ขายสินค้าด้วยตนเอง งานวิจัยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเกษตรกรผักออร์แกนิค อ.กระนวน และกลุ่มลูกค้าในจังหวัดขอนแก่น เมื่อประเมินอุปสงค์และอุปทานโดยสถิติเชิงอนุมานพบว่าในจังหวัดขอนแก่นมีอุปสงค์และอุปทานของผักน่าเกลี่ยดอยู่จริง เมื่อพยากรณ์ใน 5 ปี ธุรกิจนี้มี IRR ระดับ 51.24% และ Payback Period ในเวลา 2.59 ปี มีความเหมาะสมในการลงทุน การดำเนินงานได้พัฒนา นวัตกรรมขึ้น 3 รูปแบบ กล่าวคือ
- นวัตกรรมกระบวนการจัดการผักไม่สวย โดยสอนให้เกษตรกรจัดประเภทของผลผลิตเป็นกลุ่มผักดี ผักดีรอง และผักน่าเกลียด และสร้างเกณฑ์การคัดแยกผัก ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียได้ 20% โดยเฉลี่ย
- นวัตกรรมช่องทางการขาย ได้สร้างแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ที่เป็นเครือข่ายในการส่งต่อข้อมูลระหว่างลูกค้า และเกษตรกร รวมถึง ระบบจัดการทางการเงินและขนส่งสินค้า
- นวัตกรรมส่งเสริมการตลาด ได้ผลิตสื่อ 2 แคมเปญ คือ แคมเปญที่ 1: Innovative Brand Expression เช่น การบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค โฆษณาในวันสำคัญและเทศกาลสำคัญ แคมเปญที่ 2: Innovative Brand Delivery แนะนำแพลตฟอร์มแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างยอดขาย
นอกจากนี้ ยังสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมเกี่ยวกับผักไม่สวยผ่านทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook และ Instragram
โครงการ Ugly Veggies – แบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการการสูญเสียและเศษเหลือทิ้งจากอาหารอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานผักสด
Ugly veggies – A circular economy model for the sustainable management of food loss and waste in fresh vegetable supply chains
สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565
วิจัยโดย
ผศ.ดร. ชวิศ เกตุแก้ว (ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Ugly Veggies Thailand)
ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชั้น 2 อาคารเรียนรวมและพัฒนาทักษะพื้นฐาน
123 ถ. มิตรภาพ ต. ศิลา อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ 098-745-4262 (เบอร์ Ugly Veggies Thailand)
Email: chaket@kku.ac.th
ที่มา
https://uglyveggies.kku.ac.th/
https://www.instagram.com/uglyveggies.th/
https://www.facebook.com/uglyveggiesthailand
https://www.tiktok.com/@uglyveggiesth?lang=th-TH
- 01/10/2024
การจัดการขยะจากชุมชนและของเสียในฟาร์มแพะ
- 05/01/2024
เปลือกแมคคาเดเมียเพื่อผลิตถ่านกัมมันต์
- 05/01/2024
เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก
- 01/12/2023
Ugly Veggies ผักไม่สวย
โครงการที่เกี่ยวข้อง
Food Waste Hub is a collaboration of the National Research Council of Thailand (NRCT) and Dow Thailand Group (Dow) that sees the importance of waste management emphasizing a crucial issue – food waste.