เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก

ประเภทวัสดุอาหารและอื่นๆ เศษอาหาร ผักตบชวา เปลือกทุเรียน ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย
เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก

  • ใช้ทำปุ๋ยหมักแบบรวดเร็ว
  • ใช้ทำดินผสมพร้อมปลูก หรือปรุงดินปลูกพืช

เครื่องผลิตปุ๋ยหมักขนาดเล็ก (ถังหมัก 80 ลิตร) สำหรับบ้านพักอาศัย
เครื่องผลิตปุ๋ยหมักขนาดใหญ่ (ถังหมัก 400 ลิตร) สำหรับหน่วยงาน/ชุมชน/สวนเกษตร


ผู้วิจัย ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ และคณะ
ผู้ใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ปี 2562 – 2566 มีการนำเครื่องผลิตปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์แล้วในหลายภาคส่วน ได้แก่ การใช้งานในศูนย์ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ ชุมชน/หมู่บ้าน เทศบาล/สำนักงานเขต วัด โรงเรียน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล สวนเกษตร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จำนวนไม่น้อยกว่า 250 เครื่อง ใน 45 จังหวัดทั่วประเทศ


ด้วยขยะอินทรีย์มีปริมาณมากในปัจจุบัน ทั้งจากภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ยังไม่ได้มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักมากนัก เนื่องจากข้อจำกัดของวิธีการหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิมที่จะต้องใช้ขยะอินทรีย์ในปริมาณมากและใช้ระยะเวลาหมักนานหลายเดือน และเหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ การขาดเครื่องมืออำนวยความสะดวก หรือวิธีการที่เหมาะสมอันเป็นแรงจูงใจสำคัญ จึงทำให้ประชาชนเลือกทิ้งขยะอินทรีย์รวมในถังขยะของเทศบาล คณะวิจัยฯ จึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องผลิตปุ๋ยหมักแบบรวดเร็วภายใน 5-7 วัน ที่ไม่ต้องใช้ขยะอินทรีย์ครั้งละมากๆ และใช้พื้นที่น้อย เพื่อให้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกและจูงใจให้ประชาชนหันมาผลิตปุ๋ยหมักกันมากขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมกระบวนการหมุนเวียนแร่ธาตุในสิ่งแวดล้อมและช่วยลดภาระด้านการกำจัดขยะมูลฝอยให้แก่ภาครัฐ

ผลการวิจัยสามารถผลิตเครื่องผลิตปุ๋ยหมักได้ โดยนำขยะอินทรีย์หรือวัสดุเหลือทางการเกษตรที่ตัดสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปในถังหมัก เปิดสวิตช์เพื่อกวนส่วนผสมให้คลุกเคล้ากันดี เมื่อพบว่าส่วนผสมในถังหมักคลุกเคล้ากันดีแล้วให้ตรวจสอบความชื้นของอินทรียวัตถุในถังหมัก การทำงานจะใช้เวลาในการ 5-7 วัน โดยในทุกวันให้เปิดสวิตช์กวนเป็นเวลา 2-5 นาที (ค่าไฟประมาณ 9 บาท/เดือน) เมื่ออินทรียวัตถุในถังย่อยสลายมีสีน้ำตาลถึงดำคล้ำและมีกลิ่นคล้ายดินแสดงว่า เป็นฮิวมัสแล้ว (แม้จะยังมีความร้อนอยู่) ให้นำออกจากถังหมักและใส่เข่งตั้งทิ้งไว้ รอจนกระทั่งปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์ คือ ไม่มีความร้อนในกองปุ๋ยหมัก จึงนำไปใช้งานได้

นอกจากชุมชนและเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักและดินพร้อมปลูกไว้ใช้เอง ยังสามารถจำหน่าย ซึ่งสามารถคืนทุนภายในระยะสั้น

ก. เครื่องผลิตปุ๋ยหมักขนาดเล็ก (ถังหมัก 80 ลิตร)

ข. เครื่องผลิตปุ๋ยหมักขนาดใหญ่ (ถังหมัก 400 ลิตร)

คลิปวีดีโอเครื่องผลิตปุ๋ยหมักสร้างรายได้ให้ชุมชน


โครงการ การพัฒนาต้นแบบระบบหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศและอุปกรณ์ช่วยผสมอัตโนมัติ สำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน
Development of aerobic organic wastes composter prototypes with automatic mixing for household and community users

สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2555


วิจัยโดย
ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ และคณะ
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เลขที่ 1 หมู่ 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
Email: rdilnb@ku.ac.th

โครงการที่เกี่ยวข้อง

product-soy-flour-bowl-with-soybean-kinako-flour
การใช้กากถั่วเหลืองผลิตแป้งโอคาร่า
แป้งโอคาร่าและเบเกอรี่จากกากถั่วเหลือง ประเภทวัสดุอาหาร กากถั่วเหลืองผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย แป้งโอคาร่า...
ดูรายละเอียด...
image3
เปลือกแมคคาเดเมียเพื่อผลิตถ่านกัมมันต์
เปลือกแมคคาเดเมียเพื่อผลิตถ่านกัมมันต์ ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกแมคคาเดเมียผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย...
ดูรายละเอียด...
Close-up fresh chicken eggs
การใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่สำหรับทำขนมบิสกิต
การใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่สำหรับทำขนมบิสกิต ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกไข่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ขนมบิสกิตสุนัข ผู้วิจัย...
ดูรายละเอียด...