การจัดการขยะจากชุมชนและของเสียในฟาร์มแพะ

ประเภทวัสดุอาหาร เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้  เศษใบไม้  กิ่งไม้ มูลแพะ และเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด เปลือกมะพร้าวอ่อน เปลือกลูกจาก กะลามะพร้าว
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ปุ๋ยหมักเศษอาหาร ปุ๋ยหมักมูลแพะ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจากมูลแพะ ไบโอชาร์


ผู้วิจัย ดร.พรรณปพร กองแก้ว และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผู้ใช้ประโยชน์ เกษตรกรรายย่อย เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เกษตรกรทำสวน โรงเรียน ตลาดสด และชุมชนในเขตกึ่งเมือง


เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง สาธิตและฝึกอบรม โดยนำขยะเศษอาหารจากชุมชน และของเสียที่เกิดจากอาชีพเลี้ยงแพะในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เริ่มจากทำการวิจัยแล้วนำผลวิจัยมาดำเนินจริงเพื่อสาธิตให้แก่ชุมชนเชิงประจักษ์ และนำมาอบรมในเครือข่าย เทคโนโลยีการจัดการของเสียอินทรีย์ในชุมชนและฟาร์มแพะมี 3 ประเภท คือ 

1. เทคโนโลยีการหมักปุ๋ย   แบ่งได้ 2 รูปแบบ 

  • 1.1  การใช้กล่องหมักปุ๋ยและสวนผักคีห์โฮลเพื่อจัดการขยะสด อาทิ เศษอาหารและเศษผักผลไม้ มาคลุกเคล้ากับใบไม้แห้ง และมูลแพะแห้ง ในอัตราส่วน 1:1:1 (ใช้พด.6 มาเป็นตัวเร่ง)  
  • 1.2 การทำกองปุ๋ยหมัก  เพื่อจัดการมูลแพะ เศษอาหารแพะและเศษวัสดุเหลือทิ้งในฟาร์ม เศษใบไม้ เศษหญ้า  โดยใช้เทคโนโลยีปุ๋ยหมักแบบกลับกอง (ใช้พด.1 เป็นตัวเร่ง) 

2. เทคโนโลยีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจากการนำมูลแพะมาทำเป็น bedding ไส้เดือน และ
3. เทคโนโลยีการผลิตไบโอชาร์  เพื่อจัดการขยะชีวมวลที่มีขนาดใหญ่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งนำไปสู่การจัดการและลดของเสียภายในชุมชนตามแนวคิด Zero waste management ได้สร้างวิทยากรแกนนำในพื้นที่จำนวน 8 คน และได้สร้างเครือข่ายการจัดการของเสียจำนวน 15 องค์กร ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ 5 หน่วยงาน องค์กรเอกชน/กลุ่มเกษตรกรทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ 10 องค์กร ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากงานวิจัย ถูกนำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตของพืชอาหารคน และอาหารสัตว์ในพื้นที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการของเสียในฟาร์มแพะอย่างยั่งยืน


โครงการ การจัดการฟาร์มแพะแบบ Zero Waste Agriculture ในพื้นที่ทุ่งครุ กรุงเทพฯ
Zero Waste Agriculture Goat Management in Thung Khru District, Bangkok
สนับสนุนงานวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563

วิจัยโดย
นางพรรณปพร กองแก้ว และคณะ   
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
โทรศัพท์ 098-9196091 E-mail: Anusoil20@gmail.com

โครงการที่เกี่ยวข้อง

product-soy-flour-bowl-with-soybean-kinako-flour
การใช้กากถั่วเหลืองผลิตแป้งโอคาร่า
แป้งโอคาร่าและเบเกอรี่จากกากถั่วเหลือง ประเภทวัสดุอาหาร กากถั่วเหลืองผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย แป้งโอคาร่า...
ดูรายละเอียด...
Close-up fresh chicken eggs
การใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่สำหรับทำขนมบิสกิต
การใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่สำหรับทำขนมบิสกิต ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกไข่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ขนมบิสกิตสุนัข ผู้วิจัย...
ดูรายละเอียด...
1
เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก
ประเภทวัสดุอาหารและอื่นๆ เศษอาหาร ผักตบชวา เปลือกทุเรียน ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร...
ดูรายละเอียด...