การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียน

เปลือกทุเรียนเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแพะ

ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกทุเรียน 
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย อาหารเลี้ยงแพะ และเลี้ยงโค


ปัญหาขยะจากเปลือกทุเรียนในแต่ละปีเพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการบริโภคสดหรือแปรรูปทุเรียน การบริโภคทุเรียน 1 ตัน มีเปลือกที่ทิ้งประมาณ 585 กิโลกรัม ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการนำวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น เปลือกทุเรียน มาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารสัตว์และสามารถลดประมาณขยะจากเปลือกทุเรียนได้ ซึ่งเปลือกทุเรียนสดมีระดับโปรตีนรวม 4.64% และพลังงาน 5003.86 Kcal/kg ซึ่งสูงพอสมควร งานวิจัยได้นำเปลือกทุเรียนมาปรับปรุงคุณภาพด้วยการหมัก โดยการเสริมยีสต์ เกลือ และโซเดียมไนเตรทปริมาณ 1% โดยน้ำหนัก เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพและต้นทุนในการหมัก ซึ่งเปลือกทุเรียนหมักทั้งสามสูตรอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ (2547) มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้ดอง ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า เนื้อสัมผัสไม่เป็นเมือกและไม่เละ แต่เปลือกทุเรียนที่เสริมยีสต์จะมีเนื้อเปื่อยยุ่ยและเป็นเมือกเล็กน้อย สูตรที่เสริมเกลือจะมีสีเหลืองมะกอกเป็นสีที่สว่างกว่าสูตรอื่นๆ สำหรับระดับกรดไฮโดรไซยาไนด์หลังการหมักอยู่ระหว่าง 0.33-0.47 mg% เป็นระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ระดับของอินทรีย์วัตถุ วัตถุแห้ง เถ้า และ ADF ใกล้เคียงกัน แต่การเสริมยีสต์ทำให้ระดับโปรตีน (22.28%) สูงกว่าการเสริมเกลือ (18.22%) และโซเดียมไนเตรท (15.32%) และการเสริมยีสต์ทำให้ระดับของเยื่อใย NDF สูงกว่าอีกสองสูตรเช่นกัน สำหรับต้นทุนในการหมักที่เสริมเกลือเท่ากับ 1.45 บาท/กก.ซึ่งเป็นต้นทุนต่ำที่สุด

ส่วนการศึกษาสมรรถภาพการผลิตแพะที่ได้รับอาหารหยาบต่างกัน พบว่าแพะที่กินเปลือกทุเรียนหมักสามารถกินอาหารและย่อยสารอาหารได้ดี มีน้ำหนักเพิ่มและการเจริญเติบโตสูงกว่าแพะที่ได้รับหญ้าเป็นอาหารหยาบ ส่วนค่ายูเรียไนโตรเจน น้ำตาลกลูโคสในเลือด และฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งแสดงว่าอาหารทดลองมีสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของแพะ อีกทั้งค่าความกรด-ด่าง แอมโมเนียไนโตรเจน และกรดไขมันที่ระเหยได้อยู่ในเกณฑ์ปกติเช่นกัน เมื่อคำนวณรายได้และกำไรจากการจำหน่ายแพะ พบว่าแพะที่กินเปลือกทุเรียนหมักสามารถให้กำไรมากเกือบ 2 เท่าและสามารถลดต้นทุนค่าอาหารมากถึง 45%

สำหรับการศึกษาสัดส่วนของเปลือกทุเรียนหมักในอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถภาพการผลิตแพะพบว่าอาหารผสมสำเร็จที่มีเปลือกทุเรียนหมัก 60-80% แพะสามารถกินอาหาร และการย่อยได้ใกล้เคียงกัน ส่วนค่ายูเรียไนโตรเจน น้ำตาลกลูโคสในเลือด และฮอร์โมน T3 มีค่าใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับค่าความกรด-ด่างแอมโมเนียไนโตรเจน และกรดไขมันที่ระเหยได้ในกระเพาะหมักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งไม่มีผลด้านลบต่อแพะ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เปลือกทุเรียนสามารถเป็นอาหารเลี้ยงแพะ ทำให้ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับเกษตรกร

ภาพที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของเปลือกทุเรียนหมักก่อนและหลังการหมัก
(1) = เปลือกทุเรียนสด, (2) = ยีสต์, (3) = เกลือ และ (4) = โซเดียมไนเตรท

ภาพที่ 2 แสดงปริมาณทุเรียนและเปลือกทุเรียนที่ถูกทิ้งในแต่ละวันของวิสาหกิจทุเรียนกวนบ้านบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

ภาพที่ 3 แสดงการเตรียมส่วนผสมในการหมักเปลือกทุเรียน

ภาพที่ 4 แสดงเปลือกทุเรียนสับขนาดประมาณ 2 ซม บรรจุลงถัง 200 ลิตร เพื่อหมัก


โครงการ การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียนวัสดุเหลือทิ้งเป็นแหล่งอาหารสัตว์คุณภาพสูงสู่จังหวัดชายแดนใต้
The development and value added of durian peel waste product as high-quality animal feed source in the southern border province


สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564


วิจัยโดย
ผ.ศ. ดร. ซารีนา สือแม และคณะ
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
E-mail: sesemae@hotmail.com, sareena.s@pnu.ac.th


โครงการที่เกี่ยวข้อง

Woman's,Hand,Crumbles,Coffee,Grounds,Into,Wooden,Bowl
พรีไบโอติกจากกากกาแฟ
กากกาแฟเพื่อผลิตสารพรีไบโอติก ประเภทวัสดุอาหาร กากกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย สารพรีไบโอติกเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเพื่อสุขภาพ กากกาแฟ...
ดูรายละเอียด...
foodwaste-img-1
การใช้แมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประเภทวัสดุอาหาร กากเต้าหู้ เปลือกสับปะรด...
ดูรายละเอียด...
ground coffee poured into the holder on which the grains of roas
การผลิตแป้งกาแฟจากเศษเหลือผลกาแฟเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสุขภาพ
เปลือกและผลเชอรี่กาแฟเพื่อผลิตแป้งกาแฟ ประเภทวัสดุอาหาร ผลและเปลือกเชอรี่กาแฟที่ได้จากการผลิตเมล็ดกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย...
ดูรายละเอียด...