การเสริมสารประกอบโพลีฟีนอลในอาหารอัดก้อน

อาหารอัดก้อนสำหรับโคนมด้วยเปลืองมังคุดกับใบสะเดา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกมังคุด ใบสะเดา
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย อาหารอัดก้อนสำหรับโคนมที่มีสารโพลีฟีนอลจากเปลือกมังคุดและใบสะเดา


เนื่องจากเปลือกมังคุดและใบสะเดามีสารโพลีฟีนอลเป็นองค์ประกอบ จึงได้มีการทดลองให้อาหารแก่โคนมพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียน (75%) ในสูตรอาหารที่มีเปลือกมังคุดและใบสะเดาในสัดส่วนแตกต่างกัน ได้แก่

สูตรที่ 1 อาหารอัดก้อนไม่มีใบสะเดาและเปลือกมังคุด(กลุ่มควบคุม) 
สูตรที่ 2 อาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาเป็นองค์ประกอบ 5% 
สูตรที่ 3 อาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาเป็นองค์ประกอบ 10% 
สูตรที่ 4 อาหารอัดก้อนที่มีเปลือกมังคุดเป็นองค์ประกอบ 5% 
สูตรที่ 5 อาหารอัดก้อนที่มีเปลือกมังคุดเป็นองค์ประกอบ 10% และ
สูตรที่ 6 อาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาเป็นองค์ประกอบ 5% และเปลือกมังคุด  5%  

ผลการศึกษาพบว่าการเสริมอาหารอัดก้อนด้วยใบสะเดาและเปลือกมังคุดมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของการย่อยได้ของเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารละลายที่เป็นกลาง และกรดโพรพิออนิกในกระเพาะรูเมน โคนมมีค่าแอมโมเนียไนโตรเจน สัดส่วนของกรดอะซิติกต่อกรดโพรพิออนิก ปริมาณแก๊สเมธเทน ประชากรโปรโตซัว และเมธาโนเจนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม  โดยมีค่าต่ำที่สุดในกลุ่มที่ได้รับการเสริมอาหารอัดก้อนสูตรที่ 3 อาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาเป็นองค์ประกอบ 10% สูตรที่ 5 อาหารอัดก้อนที่มีเปลือกมังคุดเป็นองค์ประกอบ 10% และสูตรที่ 6 อาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาเป็นองค์ประกอบ 5% และเปลือกมังคุดเป็นองค์ประกอบ 5% อย่างไรก็ตามโคนม กลุ่มที่ได้รับการเสริมอาหารอัดก้อนที่มีใบสะเดาและเปลือกมังคุด ให้ผลผลิตปริมาณน้ำนมที่ปรับด้วยไขมันที่ระดับ 3.5% โปรตีนในน้ำนมเพิ่มขึ้น และมีผลตอบแทนเปรียบเทียบเชิงเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มควบคุม  ในขณะที่องค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมไม่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ไขมัน แลคโตส และของแข็งทั้งหมด และไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ ดังนั้นการเสริมอาหารอัดก้อนที่มีสารโพลีฟีนอลเป็นองค์ประกอบจากใบสะเดาและเปลือกมังคุด ช่วยเพิ่มปรับปรุงกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ลดจำนวนประชากรโปรโตซัว เมธาโนเจนและลดการปลดปล่อยแก๊สเมธเทน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมในโครีดนม


โครงการ การเสริมสารประกอบโพลีฟีนอลในอาหารอัดก้อนคุณภาพสูงต่อความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ นิเวศวิทยารูเมน ผลผลิตแก๊สเมธเทน ผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม
Supplementation of polyphenol in high quality complete feed block on nutrient digestibility, rumen ecology, methane production, milk yield, and milk composition in dairy cows


สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563


วิจัยโดย
นายกัมปนาจ เภสัชชา และคณะ
คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
โทรศัพท์ 0-4254-3222 โทรสาร 0-4254-3122 Email: kampanatmon@gmail.com

โครงการที่เกี่ยวข้อง

foodwaste-img-1
การใช้แมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประเภทวัสดุอาหาร กากเต้าหู้ เปลือกสับปะรด...
ดูรายละเอียด...
Woman's,Hand,Crumbles,Coffee,Grounds,Into,Wooden,Bowl
พรีไบโอติกจากกากกาแฟ
กากกาแฟเพื่อผลิตสารพรีไบโอติก ประเภทวัสดุอาหาร กากกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย สารพรีไบโอติกเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเพื่อสุขภาพ กากกาแฟ...
ดูรายละเอียด...
ground coffee poured into the holder on which the grains of roas
การผลิตแป้งกาแฟจากเศษเหลือผลกาแฟเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสุขภาพ
เปลือกและผลเชอรี่กาแฟเพื่อผลิตแป้งกาแฟ ประเภทวัสดุอาหาร ผลและเปลือกเชอรี่กาแฟที่ได้จากการผลิตเมล็ดกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย...
ดูรายละเอียด...