การสกัดสารเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการต้านมะเร็งเต้านม

สารเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการต้านมะเร็งเต้านม

ประเภทวัสดุอาหาร เปลือกหอมหัวใหญ่ หอมแขก และหอมแดง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการต้านมะเร็งเต้านม


เปลือกหอมเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและร้านอาหาร เกษตรกรบางแห่งจะเผาทำลายทำให้เกิด PM 2.5 บางแห่งจะทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยเช่นเดียวกับร้านอาหาร งานวิจัยนี้ได้นำเปลือกหอมเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการต้านมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของสตรี โดยศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเควอร์ซิตินจากหอมหัวใหญ่ (onion, Allium cepa L.) หอมแขก (red onion, Allium cepa) และหอมแดง (shallot, Allium cepa Aggregatum group.) ต่อการต้านการเจริญเติบโต การเคลื่อนที่ และการลุกลามในเซลล์มะเร็งเต้านม และศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเควอร์ซิตินจากหอมหัวใหญ่ หอมแขก และหอมแดง ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดชนิดด็อกโซรูบิซินในมะเร็งเต้านม 

การศึกษาเริ่มจากการพัฒนากระบวนการสกัดสารเควอร์ซิตินจากหอมหัวใหญ่ หอมแขก และหอมแดง จากส่วนเนื้อและเปลือกในตัวทำละลายน้ำและเอทานอลที่ความเข้มข้นต่างๆ ศึกษาผลของอุณหภูมิและค่าความ เป็นกรด-ด่าง เพื่อหาสภาวะที่สามารถสกัดสารเควอร์ซิตินให้ได้ปริมาณมากที่สุด จากนั้นทำการศึกษาค่าความคงตัวของสารสกัดเควอร์ซิตินที่อุณหภูมิต่าง ๆ แล้วจึงทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดในการฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านม และทำการศึกษากลไกการตายของเซลล์มะเร็ง ผลการศึกษาพบว่าปริมาณของสารเควอร์ซิตินพบมากบริเวณเปลือกของหอมทั้ง 3 ชนิด และเมื่อศึกษาฤทธิ์สารสกัดเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมต่อการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม พบว่าหอมแดงมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7  รองลงมาคือสารสกัดเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมหัวใหญ่  และสารสกัดเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมแขก ตามลำดับ นอกจากนี้ หอมแดงและหอมหัวใหญ่ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์เต้านมชนิด MDA-MB-231  ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าหอมแขก และงานวิจัยยังพบว่าสารสกัดเควอร์ซิตินจากเปลือกหอมหัวใหญ่ หอมแขก และหอมแดง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งผ่านกระบวนการเหนี่ยวนำการตายแบบ apoptosis ในเซลล์มะเร็งเต้านมทั้งชนิด MCF-7 และ MDA-MB-231 อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้มีข้อจำกัดในประเด็นที่ยังไม่ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเควอซิตินต่อการยับยั้งการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็ง

หอมหัวใหญ่ สายพันธุ์ Superex,   Onion (Allium cepa L.),

หอมแขก สายพันธุ์หอมแขกอินเดีย, Shallot (Allium cepa Aggregatum group.)

หอมแดง สายพันธุ์ศรีสะเกษ, Red onion (Allium cepa)


Quercetin extracted from onion peel in agro waste enhances efficacy of chemotherapeutic agent and prevents the recurrence of breast cancer

Supported by National Research Council of Thailand (NRCT), 2021


Researchers
Assoc. Prof. Dr. Prasit Suwannalert and team
Faculty of Science, Mahidol University
272 Rama VI Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400, THAILAND
Tel: +66 2201 5000 Fax: +66 2354 7165
E-mail: prasit.suw@mahidol.ac.th

โครงการที่เกี่ยวข้อง

Woman's,Hand,Crumbles,Coffee,Grounds,Into,Wooden,Bowl
พรีไบโอติกจากกากกาแฟ
กากกาแฟเพื่อผลิตสารพรีไบโอติก ประเภทวัสดุอาหาร กากกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย สารพรีไบโอติกเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเพื่อสุขภาพ กากกาแฟ...
ดูรายละเอียด...
foodwaste-img-1
การใช้แมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประเภทวัสดุอาหาร กากเต้าหู้ เปลือกสับปะรด...
ดูรายละเอียด...
ground coffee poured into the holder on which the grains of roas
การผลิตแป้งกาแฟจากเศษเหลือผลกาแฟเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสุขภาพ
เปลือกและผลเชอรี่กาแฟเพื่อผลิตแป้งกาแฟ ประเภทวัสดุอาหาร ผลและเปลือกเชอรี่กาแฟที่ได้จากการผลิตเมล็ดกาแฟผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย...
ดูรายละเอียด...