.
การผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัสพร้อมใช้งานจากเศษอาหาร เศษเครื่องในปลา และตะกอนสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้ว
เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ประเภทวัสดุอาหาร ขยะเศษอาหารเหลือทิ้งจากการรับประทาน เศษเครื่องในปลา และตะกอนสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้ว
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย ตะกอนผลึกปุ๋ยฟอสฟอรัส
ในปี 2563 ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีประมาณ 5,141,100 ตัน มูลค่ากว่า 46,342 ล้านบาท (สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2563) ซึ่งมีความต้องการฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันปริมาณแร่หินฟอสฟอรัสโลกกลับลดลงอย่างต่อเนื่องและจะหมดลงในอีก 50–100 ปี (Cordell et al., 2009) ปัญหาการขาดแคลนแหล่งฟอสฟอรัสโลกส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย เนื่องจากภาคการเกษตรจำเป็นต้องอาศัยปุ๋ยฟอสฟอรัสเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก
ขยะเศษอาหารเหลือทิ้งจากการปรุงประกอบและการรับประทาน และเศษเครื่องในปลาจากตลาดสดและโรงงานซึ่งจัดเป็นขยะอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ปกติมักทิ้งรวมกับขยะทั่วไปทำให้เพิ่มปริมาณขยะทั่วไปและเป็นภาระในการกำจัด การสร้างมูลค่าเพิ่มของขยะกลุ่มนี้เพื่อแยกออกจากขยะที่ต้องกำจัดจึงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการจัดการขยะในภาพรวม
งานวิจัยนี้เป็นการนำกลับฟอสฟอรัสจากแหล่งของเสียอินทรีย์เหลือทิ้ง คือ ขยะเศษอาหารเหลือทิ้งจากการปรุงประกอบและการรับประทาน เศษเครื่องในปลา และตะกอนสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพแบบไร้อากาศและกระบวนการตกตะกอนผลึกปุ๋ยฟอสฟอรัสทางเคมี เพื่อแปรรูปฟอสฟอรัสที่สะสมอยู่ในของเสียให้อยู่ในรูปผลึกปุ๋ยฟอสฟอรัสพร้อมใช้งานและสะดวกต่อการขนส่ง ปุ๋ยที่ได้จากการวิจัยมีคุณลักษณะทางเคมีเทียบเท่าปุ๋ยเคมีในท้องตลาด และได้ก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมแบบไร้อากาศ จากการประเมินทางเศรษฐศาสตร์พบว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดเพื่อสร้างกำไรได้ในอนาคต โดยเฉพาะหากราคาปุ๋ยในท้องตลาดเพิ่มขึ้นสูงกว่า 13.5 USD หรือ 493 บาท/kg P (อัตราแลกเปลี่ยน 36.5 บาท/1 USD)
รูป ถังปฏิกิริยาก่อผลึกสตูรไวท์
โครงการ เทคโนโลยีของกระบวนการสำหรับการก่อผลึกฟอสฟอรัสจากขยะอาหารและตะกอนสิ่งปฏิกูลรีดน้ำแล้ว
Process technology for Phosphorus crystallization from food waste and dewatered nightsoil sludge
สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563สนับสนุนงานวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565
วิจัยโดย
รศ.ดร. สุภาวดี ผลประเสริฐ และคณะ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 084-527 2277 โทรสาร 02-354 8525 Email: supawadee.pol@mahidol.ac.th
โครงการที่เกี่ยวข้อง
Food Waste Hub is a collaboration of the National Research Council of Thailand (NRCT) and Dow Thailand Group (Dow) that sees the importance of waste management emphasizing a crucial issue – food waste.